วังบ้านปืน สร้างสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้สร้างพระราชวังแบบยุโรป เพื่อใช้สำหรับแปรพระราชฐานในฤดูฝน สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระราชวังแห่งนี้ถือว่าเป็นพระราชวังที่งดงามแห่งหนึ่งของไทย ประวัติความเป็นมาของ วังบ้านปืน หรืออีกชื่อพระรามราชนิเวศน์ตั้งอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี ที่บ้านปืน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการทหารเรือ กับ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) เป็นแม่กองดำเนินการก่อสร้างพระตำหนัก ถนน และสถานที่ต่างๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรินทรฤาไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นผู้จ่ายเงินสั่งของและเป็นผู้ตรวจการ ทั้งโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์คาล ดอห์ริง นายช่างเยอรมัน เป็นผู้คิดเขียนแบบรูปพระตำหนักตามกระแสพระราชดำริ โดยมี ดอกเตอร์ควดไบเยอร์ ชาวเยอรมัน เป็นนายช่างก่อสร้าง นายคลูเซอร์ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ภายในตำหนักชั้นล่างประกอบด้วย ห้องรอเฝ้า ท้องพระโรงกลาง ห้องเสวย ห้องเครื่อง และห้องเทียบเครื่อง สำหรับชั้นบนประกอบด้วย ห้องพระบรรทมใหญ่ ห้องพระบรรทมพระราชินี ห้องพระบรรทมเจ้าฟ้า และห้องทรงพระอักษร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2453 แต่การก่อสร้างดำเนินได้ไม่นานก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ช่างสร้างต่อจนเสร็จใน พ.ศ. 2459 รวมเวลาสร้างเกือบ 7 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองพระตำหนักวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2461
เดินดูโดยรอบแล้ว จะได้พบเห็นการออกแบบของพระราชวังที่งดงาม มีการก่อสร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโมเดิร์นสไตล์ ด้านหน้าหันไปทางทิศใต้ ซึ่งห่างจากแม่น้ำเพชรบุรีด้านทิศตะวันออกประมาณ 50 เมตร หลังคาสีน้ำตาลเป็นกระเบื้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีลักษณะเช่นเดียวกับพระราชวังของพระเจ้าวิลเฮิร์มไกเซอร์แห่งประเทศเยอรมัน โดยทำแบบสองชั้นมียอดสองยอดคือยอดพระตำหนักและยอดมุข ส่วนของอาคารภายนอกดูเรียบง่าย แต่เน้นความอลังการของตัวอาคาร ความงดงามของลวดลายบานประตูและหน้าต่าง
โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ระดับปริญญาบัณฑิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 4
The 4ᵗʰ Regional undergraduate Conferrence on Agricultural Science and Technology
โทรศัพท์ 032-493-270 โทรสาร 032-493-270Copyright 2012. All Right Reserved. RUCA IV
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการนำภาพและข้อมูลไปใช้ในเชิงพานิชย์