พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน วังมฤคทายวัน
-
หน้าแรก
- พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน วังมฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน วังมฤคทายวัน
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2467 เป็นเวลา 3 เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2468 หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก 5 เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
ปัจจุบัน
ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังคงซึ่งไว้เขตพระราชฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด) เพื่อใช้ในการฝึกรบสนับสนุนทางอากาศ และในปี 2536 ตชด ได้จัดตั้ง มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป) สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีต หลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝน ได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อน โดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐาน และยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม
พระที่นั่ง
พระที่นั่งทั้ง3องค์มีความยาวทั้งสิ้น399เมตรแบ่งเป็น3ส่วนคือ ท้องพระโรง เขตที่ประทับฝ่ายหน้า และเขตที่ประทับฝ่ายในโดยมีทางเชื่อมต่อกันโดยตลอดโดยมีพระที่นั่งองค์ต่างๆดังนี้
พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์
พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกตั้งอยู่ทางทิศเหนือเป็นพระที่นั่ง2ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดถึงกันทั้งชั้นบนและชั้นล่างด้านบนเพดานเป็นช่องสี่เหลี่ยมเขียนลวดลายโดยทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีห้องควบคุมไฟสำหรับเวทีที่ใช้แสดงละครและมีห้องพักนักแสดงภายในมีบันไดสำหรับนักแสดงขึ้นลงโดยการแสดงจะจัดขึ้นบริเวณทิศเหนือซึ่งเป็นเวทีซึ่งยกพื้นสูงโดยเจ้านายฝ่ายในจะประทับที่เฉลียงชั้นบนอัฒจันทร์ที่อยู่ตรงทางเข้านั้นเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทางขึ้นและทางลงแยกกันคนละทางโดยบนอัฒจันทร์มีลาดพระบาท(พรม)สำหรับเป็นทางเสด็จชั้นบน เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการ รับพระราชอาคันตุกะ และประกอบพระราชพิธีต่างๆโดยภายในห้องพระราชพิธีเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปซึ่งสร้างขึ้นภายหลังนอกจากนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายภาพ
หมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร
หมู่พระทีนั่งพิศาลสาครประกอบไปด้วยอาคารต่างๆดังนี้
* อาคารหลังแรก เป็นห้องรับแขกเดิมเป็นท้องพระโรงฝ่ายในปัจจุบันเป็นโรงเรียนสอนดนตรีไทย
* หอเสวยฝ่ายใน เป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหาร
* พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ภายในประกอบด้วย ห้องบรรทม ห้องรับแขก ห้องสรง ห้องแต่งพระองค์และเฉลียงสำหรับรับลมทะเล
* เรือนพระสุจริตสุดา เป็นบ้านพักของพระสุจริตสุดาซึ่งเป็นพระสนมเอกภายในประกอบด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัวและเฉลียงรับลมทะเล
* ห้องพักคุณท้าววรคณานันท์ เป็นบ้านพักของคุณท้าววรคณานันท์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล) และคุณท้าวสมศักดิ์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล)
โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายในภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเลโดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้
สวนพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
แต่เดิมพบเพียงภาพถ่ายในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรากฏสภาพเป็นป่าชายหาดตามลักษณะภูมิประเทศ และถากเป็นพื้นโล่งเตียนโดยรอบหมู่พระที่นั่ง เมื่อทางมูลนิธิมีโครงการในการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบพระราชนิเวศน์ โดยหม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ผู้ออกแบบสวนได้แรงบันดาลใจจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสวนต่างๆดังนี้
* สวนเวนิสวานิช
สวนที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช ที่แปลมาจากเรื่องThe Merchant of Venice ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ นักประพันธ์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ที่พระองค์ท่านทรงคงลีลาและฉันทลักษณ์ การแปล ไว้คำต่อคำใกล้เคียงกับต้นฉบับจริงมากที่สุดสวนแห่งนี้ออกแบบในสไตล์เรอเนส ซองและที่กำหนด สร้างไว้ ณ จุดหน้าสุดของเขตพระราชฐานก็เพื่อเป็นจุดนัดพบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เฉกเช่นเดียวกับเมืองเวนิส ที่เป็นสถานที่พบปะของผู้คน และเป็นแหล่งการค้า ในบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
* สวนศกุนตลา
ลานกว้างที่ใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์ทำเป็นกำแพงล้อมรอบสวน พื้นที่ภายในสวนแห่งนี้ใช้เป็นเหมือนเวทีจัดการแสดง อาทิ การแสดงโขน การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่างๆ จากสวนศกุนตลาพื้นอิฐหกเหลี่ยม สีแดงอ่อนตัดกับสนามหญ้าสีเขียว ทอดยาวพาเราไปด้านหน้าทางขึ้นพระราชวังที่รายล้อม ด้วยความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ และพุ่มไม้ดอกที่แข่งกันชูช่อประชันสี ราวกับภาพเขียนสีน้ำมันที่จิตรกรเอกบรรจงวาดอย่าง ไว้ อย่างสุดฝีมือ
* สวนมัทนะพาธา
รอบด้วยระเบียงทั้งสามด้าน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ อันเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มีการใช้สัมผัสและฉันทลักษณ์ได้ถูกต้องและมีความไพเราะยิ่ง และได้รับการยกย่อง ว่าเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ "สวนมัทนะพาธา ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแนวไม้พุ่มลายอ่อนช้อย โดยเลือกใช้ต้นข่อย ซึ่งมีพุ่มหนาแน่น ทนต่อแดด และไอทะเลได้ดีนั่นเอง
โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ระดับปริญญาบัณฑิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 4
The 4ᵗʰ Regional undergraduate Conferrence on Agricultural Science and Technology
โทรศัพท์ 032-493-270 โทรสาร 032-493-270
Copyright 2012. All Right Reserved. RUCA IV
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการนำภาพและข้อมูลไปใช้ในเชิงพานิชย์